ร้อยตรี เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) หรือ เจ้าน้อยศุขเกษม (คำเมือง: ) (พ.ศ. 2420-พ.ศ. 2453) ราชโอรสองค์ใหญ่ใน พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ สมรสกับ เจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่ พระญาติในราชวงศ์ทิพย์จักร ดำรงฐานันดรศักดิ์เป็น "เจ้าอุตรการโกศล" ถือศักดินา 1,600
เจ้าน้อยศุขเกษม ถูกกล่าวถึงในบทเพลง มะเมี้ยะ ของ จรัล มโนเพ็ชร ซึ่งกล่าวถึงตำนานรักต้องห้ามระหว่าง เจ้าชายเมืองเหนือ กับ มะเมียะ สาวชาวพม่า แห่ง เมืองมะละแหม่ง ที่จบลงด้วยความเศร้า เพราะราชประเพณีความรักจึงไม่อาจสมหวังได้
เจ้าน้อยศุขเกษม ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2423 เป็นราชโอรสองค์โตในเจ้าแก้วนวรัฐ กับแม่เจ้าจามรีมหาเทวี มีน้องสาว และน้องชาย คือ เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ และเจ้าวงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่
เมื่ออายุได้ 15 ปี ได้ไปศึกษาวิชาความรู้ที่โรงเรียนเซนต์แพทริค ในเมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า และได้พบรักกับมะเมียะ แม่ค้าสาวชาวพม่า ในปี พ.ศ. 2445 จนกระทั่งได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา ด้วยความสนับสนุนของทางบ้านของมะเมียะ
เมื่อครั้นถึงกำหนดการเดินทางกลับนครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2446 เจ้าน้อยจึงให้มะเมียะปลอมตัวเป็นผู้ชายติดตามขบวนเพื่อกลับไปยังเชียงใหม่ ในฐานะสหายหนุ่มชาวพม่า แต่ในอีกทางหนึ่งเจ้าแก้วนวรัฐ ได้หมั้นหมายเจ้าหญิงบัวนวล ธิดาของเจ้าสุริยวงศ์ (คำตัน สิโรรส) ไว้ก่อนนั้นแล้ว เจ้าน้อย จึงต้องให้มะเมียะหลบซ่อนตัวอยู่ในคุ้มเป็นระยะเวลานาน ด้วยความกังวลใจว่าหากตนได้ขึ้นครองราชย์เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่แล้ว จะเกิดอึดอัดใจแก่ประชาชนที่จะต้องมีแม่เมืองเป็นสตรีชาวต่างชาติ ประกอบกับสถานการณบ้านเมืองขณะนั้นน่าวิตกมาก เนื่องจากมหาอำนาจอังกฤษกำลังแผ่อิทธิพลไปทั่วดินแดนในคาบสมุทรเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หากมีบุคคลอื่นรู้ว่ามีสาวชาวพม่าหลบซ่อนตัวอยู่ในคุ้มเจ้าราชวงศ์ (ขณะนั้นเจ้าแก้วนวรัฐ ดำรงอิสริยยศเป็น เจ้าราชวงศ์) อาจจะเป็นชนวนให้เกิดปัญหาทางการเมืองได้ จากนั้นนางมะเมียะ จึงถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศพม่า ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2446
จากนั้นเจ้าน้อยศุขเกษม ได้เข้าพิธีสมรสกับเจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่ และถึงแก่กรรมด้วยโรคเส้นประสาทพิการเรื้อรัง เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2456 โดยมีพิธีปลงพระศพ ในวันที่ 31 สิงหาคมของปีเดียวกัน
เจ้าราชบุตร (สุริยฆาต) • พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ • เจ้าหนานมหาวงศ์ • เจ้าสำใส • เจ้าหนานไชยเสนา
เจ้าศรีปิมปา • พระเจ้ามโหตรประเทศ • เจ้าหลวงน้อยคำแสน • เจ้าอุปราช (หน่อคำ) • เจ้าน้อยพรหมา • เจ้าหนานอินตา • เจ้าสุธรรมมา • เจ้าปทุมมา • เจ้าคำทิพย์ • เจ้าบัวคำ • เจ้าองค์ทิพย์ • เจ้ากาบแก้ว • เจ้าบุญปั๋น • เจ้าเกี๋ยงคำ • เจ้าจันทร์เป็ง • เจ้าแก้วยวงคำ
เจ้าหนานไชยเสนา • เจ้าหนานมหายศ • พระยาอุปราชพิมพิสาร • เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ • เจ้าหลวงหนานธรรมลังกา • เจ้าบัวคำ • เจ้าเกี๋ยงคำ • เจ้าคำค่าย • พระยาราชวงศ์ (มหาพรหมคำคง) • เจ้าบุญนำ • เจ้าคำเกี้ยว • แม่เจ้าเขียวก้อมเทวี • เจ้าฟองสมุทร • เจ้าเปาพิมาลย์ • เจ้าคำเมา • เจ้าลังกา • เจ้าคำปวน • เจ้าหนานมหาวงศ์ • เจ้าบัวถา • เจ้ากัณหา • เจ้ามณีวรรณ • เจ้าธรรมเสนา • เจ้าบุรีรัตน์ (ภูเกียง) • เจ้าอุปราช (ธรรมปัญโญ) • เจ้าน้อยธรรมกิติ • เจ้าหนานธรรมปัญญา • เจ้าหนานพรหมจักร • เจ้าหนานคำวัง • เจ้าน้อยจักรคำ • เจ้าน้อยมโนรส • เจ้าหนานสุยะ • เจ้าคำตื้อ • แม่เจ้ากันธิมาเทวี • เจ้ากัลยา • เจ้ามุกดา • เจ้าสนธยา • เจ้าบัวบุศย์ • เจ้าหนานกาวิละ • เจ้าบัวศรี • เจ้าพิมพา • เจ้าคำนาง • เจ้าเบ็ญจ๋าย • เจ้าบัวไข • เจ้ากรรณิกา
เจ้าราชบุตร (หนานธนัญไชย) • เจ้าหนานปัญญา • เจ้าน้อยขี้วัว • เจ้าน้อยขี้ควาย • เจ้าน้อยขี้ช้าง • เจ้าเฮือนคำ • เจ้าน้อยหน่อแก้ว • เจ้าศิริวรรณา • เจ้าสุนันทา สุริยโยดร
เจ้าอุตรการโกศล (มหาพรหม) • เจ้าราชบุตร (สุริยวงศ์) • เจ้าน้อยเทพวงศ์ • เจ้าหนานไชยวงศ์ • เจ้ามหันต์ยศ • เจ้าหนานไชยเทพ • เจ้าหนานมหาเทพ • เจ้าน้อยคำกิ้ง • เจ้าอุปราช (ปัญญา) • เจ้าบุญปั๋น • เจ้าน้อยก้อนแก้ว • เจ้าคำปวน • เจ้ายอดเรือน • เจ้าอุษา • เจ้าบัวทิพย์ • เจ้าคำหลอ • เจ้าปิมปา • เจ้าอโนชา • เจ้าตุ่นแก้ว
เจ้าจันทรโสภา • เจ้าดารารัศมี พระราชชายา • เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ • เจ้าแก้วนวรัฐ • เจ้าจอมจันทร์ • เจ้าน้อยโตน • เจ้าแก้วปราบเมือง • เจ้าน้อยมหาวัน • เจ้าราชวงศ์ (น้อยขัตติยะ) • เจ้าคำข่าย • เจ้าคำห้าง
เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) • เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ • เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) • เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ • เจ้าศิริประกาย ณ เชียงใหม่ • เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/เจ้าอุตรการโกศล_(ศุขเกษม_ณ_เชียงใหม่)